วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4  วันพุธที่ 28  มกราคม พ.ศ 2558




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่4 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 28  มกราคม พ.ศ 2558


เนื้อหา

1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ รู้จักคำศัพท์ในคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้รู้จักว่าการบวกคือการทำให้เพิ่มมากขึ้น การลบคือการทำให้ลดลง
-ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง


  ทักษะพื้นฐาน

1.การสังเกต (Observation)

   -การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ตา หู จมูก ลิ้น ผิวสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์


2.จำแนกประเภท(Classifying)

   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง หาความสัมพันธ์


3.การเปรียบเทียบ(Comparing)

   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์


4.การจัดลำดับ(Ordering)

   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์


5.การวัด(Measurement)

   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง 

           
6.การนับ(Counting)

   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง


7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)

   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

วิธีการสอน

- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิมที่มีเกี่ยวกับทฤษฏี จุดมุงหมาย ขอบข่าย ของคณิตศาสตร์
- มีการการถาม-ตอบเกี่ยวกับคณิศาสตร์
- มีการทำกิจกรรมโดยการทำป้ายชื่อแล้วออกไปติดตอนตอบคำถาม
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน

ทักษะ


- ทักษะการการสอนที่ประยุกต์จากเหตูการณ์ปัจจุบัน
- ทักษะในการคิด และตอบคำถาม
- ทักษะในการกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจ
- ทักษะในการดัดแปลงเนื้อเพลงให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้


 นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมโดยจะต้องให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานทางด้านต่างๆอย่างดี

บรรยากาศในห้องเรียน


         โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม ความสนุกสนุกสนานเพราะมีการเชอร์ไพร์วันเกิดเพื่อนในห้องทุกคนดูมีความสุข

ประเมินตนเอง


          ตั้งใจเรียน  แสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายแต่ออกไปทำธุระส่วนตัวช่วงหนึ่งทำให้เข้ามาไม่ทันตอนอาจารย์พูดเรื่อง การนับ รูปทรงและขนาด

ประเมินเพื่อน


    ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นและรวมทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินอาจารย์   

             
                มีน้ำเสียงในการสอนที่หลากหลายในการใช้เสียงสูงต่ำประยุกต์เหตุการปัจจุบันเพื่อจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนมาให้นักศึกษาทำ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย




สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง ผลไม้แสนสนุก  คุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ (โรงเรียนถิ่น  ถิ่นวิทยาคาร)

   คุณคูรไพพรสอนเรื่องผลไม้แสนสนุกตอนแรกคุณคูรก็ให้ท่องคำคล้องจ้องเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการเรียนผลไม้แสนสนุกหลังจากนั้นคุณครูก็ถามสิ่งที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับผลไม้ก่อนที่จะออกไปทัศน์ศึกษาที่ตลาดสดแต่ก็ที่จะไปตลาดคุณคูรก็ให้เด็กๆเล่นกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะโดยเคลื่อนไหวประกอบกับคำคล้องจ้องแล้วก็ทำข้อตกลงก่อนไปตลาดกับเด็กๆพอเด็กๆไปถึงเด็กๆก็ถามคำถามที่้เด็กอยากจะรู้เกี่ยวกับผลไม้ที่เตรียมตั้งแต่อยู่ในห้องเรียนและก็ได้มีการชิมรสชาติของผลไม้ต่างๆแล้วก็ถามเด็กๆว่าผลไม้มีรสอะไรบ้างจากนั้นก็ให้เด็กลองซื้อผลไม้จากแม่ค้าเด็กๆก็ถามว่าส้มราเท่าไรแม่ค้าบอกว่าส้มกิโลละ25บาทแต่เด็กๆชื้อส้มแค่40 บาทพอแม่ค้าชั่งส้มคุณครูก็จะสอนว่าผลไม้อะไรต้องชั่งกิโลผลไม้อะไรที่ขายเป็นผลหลังจากนั้นก็ให้เด็กนับส้มที่แม่ค้าชั่งใส่ถุงที่ละลูกพอกลับจากตลาดคุณคูรก็ให้ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ดดยการวาดภาพผลไม้ ปั่นดินน้ำมันและตัดแปะกระดาษให้เป็นรูปผลไม้

สิ่งที่ได้จากการดูวีดีโอโทรทัศน์ครู
สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้มีความหลากหลายในการเรียนรู้เด็กจะเรียนรู้ได้ดีกับการสัมผัสกับของจริงเด็กก็จะเข้าใจในเรื่องที่ดีมากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ

เรื่อง บทความการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวน มากที่ยังมีความกลัวคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่
เช่นเครื่องคิด เลขที่แสดงกราฟได้ โปรแกรมสำหรับคำนวณเชิงสัญลักษณ์ ฯลฯ ก็ไม่ ได้ช่วยแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้ได้ ไม่ว่าวิธีการจะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ มีปัญหาสำหรับพวกที่เรียนเก่งในโรงเรียน แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วก็ ยังกลัวหรือไม่ไว้ใจวิชานี้อยู่ดี มีบทความที่ว่าด้วยเรื่อง 'mathephobia' คือโรคกลัวคณิตศาสตร์ อยู่มากมายที่ยืนยันว่า ปัญหาในการให้การศึกษาคณิตศาสตร์ยังมีอยู่ (Maxwell, 1989, Buxton 1981)บางทีอาจถึงเวลาที่ต้องหาวิธีการ ใหม่ ๆ หรือจะต้องมีการปรับหลักสูตรเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนักเรียนไม่มีความรู้สึกใดใดในวิชาคณิตศาสตร์และไม่เห็นคุณค่า กลวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการถูกแถลงกันในโรงเรียน หลักสูตรไม่ยืดหยุ่น พอที่จะยอมให้นักเรียนได้ พากเพียรคิด และครูก็ได้แต่แสดงวิธี เพียงวิธีเดียวสำหรับผลเฉลย 1 ข้อ เรายังคงยึดติดอยู่แค่ระดับความชำนาญและการเรียนจากสูตรการคิดอย่างแท้จริงทำแค่ผิวเผิน จะมีสักกี่คนที่เข้าใจอย่างแท้จริง ว่าเหตุใดจำนวนลบคูณจำนวนลบ จึงเป็นจำนวนบวก เข้าใจเพียงแค่เป็นกฎที่ครูบอกให้จำ จะมีสักกี่คนที่เข้าใจพื้นฐานของแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ หรือความคิดเกี่ยวกับลิมิตอย่างแท้จริง เป็นการง่ายเกินไปที่ละเลยในรายละเอียดเหล่านี้ แต่ได้ทำให้หลักที่แท้จริงของคณิตศาสตร์สูญเสียไป
ความกลัวคณิตศาสตร์เกิดขึ้นมานานมากแล้ว จงอย่าทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตเกิดการผิดพลาดในการเรียนคณิตศาสตร์ในทางที่ถูกที่ควรอีกต่อไป คณิตศาสตร์มิใช่เพียงแค่การสร้างองค์ความรู้เท่านั้น แต่เป็นการสร้างเจตคติ และความเชื่อต่างๆด้วย จนกว่าเมื่อไรที่เราจะสามารถ เปลี่ยนความคิดให้เป็นเช่นนี้ได้ คณิตศาสตร์จะเป็นวิชาสำหรับคนหมู่น้อยเท่านั้น
เก็บความจากเรื่อง

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 วันพูธที่ 21 มกราคม พ.ศ 2558


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ 2558


เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับ
- ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
- พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
- การเรียนรรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
- เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร


ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการ
       
 พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละระดับอาจจะไม่เท่ากันเพราะพัฒนาการจะเป็นไปตามช่วงวัยและความสามารถของแต่ละบุลคล

          
ประโยชน์ 

- ทำให้รู้ถึงความสามารถของเด็ก
- รู้ถึงความแตกต่างของเด็ก
- จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

- ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์  

 การเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไป ตามพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นไปอย่างเป็นขั้นตอนโดยการที่เด็กจะเรียนผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5

- ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์  

 เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
  ทฤษฎีการเรียนรู้ 

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 

3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 

4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
-ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
-ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
-ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 

7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

- ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวกอตซกี้ 

อธิบายว่า การจัดการเรียนรู้จะต้องคำานึงถึงระดับพัฒนาการ 2ระดับ คือ ระดับพัฒนาการที่เป็นจริง(Actual Development Level) และระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้(Potential Development Level) ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่เป็นจริงและระดับพัฒนาการที่สามารถจะเป็นไปได้ เรียกว่า พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ 
พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ คือ“ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่แท้จริง เด็กจะสามารถแก้ปัญหาที่อย่างเกินกว่าระดับสติปัญญาของเขาได้หากได้รับคำแนะนำหรือการช่วยเหลือ

พัฒนาการสัมพันธ์กับสมองอย่างไร

  สมองเป็นเครื่องมือที่ รับ ส่ง ควบคุม กำกับ รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5ส่งผลให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

การเรียนรู้ คือ
การทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิดเด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม

ประโยชน์ของการเรียนรู้       

การปรับตัวและมีชีวิตอยู่ในสังคมและโลกได้อย่างมีความสุข

เด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยวิธีใด

จากการลงมือกระทำด้วยตนเองอย่างมีอิสระ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

-
 ใช้รูปธรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ใช้สื่อที่มีความน่าสนใจ
- ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองอย่างมีอิสระโดยจัดการเรียนรู้ที่เข้าสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ใช้เวลาไม่นานประมาณ 10-20นาที เพราะ เด็กจะเบื่อง่ายตามพัฒนาการของเขา


วิธีการสอน

- ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้ทราบถึงความรู้เดิม
- มีการบรรยายแบบถามตอบเพื่อทวนความรู้เดิม
- ใช้เทคโนลียีในการสอน
-นักศึกษาเลขที่ 4-6นำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียน
ทักษะ


-ทักษะการกล้าแสดงออกและตอบคำถาม
-ทักษะวิธีการดัดแปลงเพลง
-ทักษะการตอบคำพาม
-ทักษะการใช้คำคล้องจองเผื่อใช้ในการออกสอน

การนำไปประยุกต์ใช้

              
    นำความรู้ที่ได้รับมาเผื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการพัฒนาตามช่วงอายุและตามความสามารถของเด็กแต่ละคน

บรรยากาศในห้องเรียน  
          
  ห้องเรียนสะอาดอุปกรณ์ในการสอนมีความพร้อมทุกอย่าง

ประเมินตนเอง

   
มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนแต่ไม่ค่อยถนัดเรื่องการดัดแปลงเพลง

ประเมินเพื่อน     
         
  เพื่่อนมีความพร้อมในการเรียนดีแลดูเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนสนุกสนานกับการดัดแปลงเพลง

ประเมินอาจารย์      
        
  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีการใช้น้ำเสียงในเวลาสอนเสียงดังฟังชัดเจนร้องเพลงเพาะ








วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2 วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ 2558



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ 2558





เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)
   ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมาย
    คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและการคำนวณเป็นวิชาที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของทุกคนรวมไปถึงอาชีพการทำงานล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเด็กปฐมวัยจะต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อนเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่น

ความสำคัญ
   คณิตสาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดและการพิสูจน์อย่างมีเหตุผลเป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์สื่อความหมายอย่างรัดกุมและถูกต้องนอกจากนี้ยังสามารถฝึกไหวพริบปฏิภาณต่างๆการมีระเบียบมีขั้นตอนในการเรียนอย่างมีแบบแผนซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันนอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานของการเรียนในด้านต่าง

ประโยชน์
1.เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่
2.สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา

แนวคิดพื้นฐาน
   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการคิดที่พัฒนาด้านต่าๆโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็กเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

สาระที่เด็กปฐมวัยต้องรู้
1.จำนวนและการดำนินการ
2.การวัด
3.เรขาคณิต
4.พืชคณิต
5.การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

วีธีการสอน
   ให้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยการสรุปด้วยตนเองแล้วนำสิ่งที่สรุปมารวมกันให้ได้ข้อความที่สมบรูณ์


ทักษะที่ได้
  -ทักษะการสรุปความคิด
  -ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
  -ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้
   -ทักษะการสรุปความ
   -ทักษะการพูดอภิปราย
   -ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนได้เพราะเมื่อรู้ว่าเด็กจะต้องเรียนรู้อะไรเราจะได้จัดการเรียนรู้ให้เขาได้อย่างครบทุกเรื่อง

บรรยายการในการเรียน
   อากาศในห้องเย็นเกินไปดูพื่อนไม่ค่อยร่าเริงเนื่องจากเรียนเช้าอุปกรณ์ในห้องไม่พร้อมสำหรับการเรียนการสอนแต่อาจารย์ผู้สอนก็สามารถแก้ปัญหาได้

ประเมินตนเอง
   ตั้งใจเรียนแต่ก็มีแอบง่วงเพราะนอนดึกตื่นเช้า

ประเมินเพื่อน
   เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดีทำงานตามที่ได้รับหมบหมายได้ดีแต่อาจจะเข้าใจในบางเรื่องช้าบ้างนิดหน่อยแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
   อาจารย์สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีแต่งกายเรียบร้อยมีการใช้น้ำเสียงหนักเบาแตกต่างกันทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ


สรุปวิจัย

    การวิจัยเรื่องพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ

1.การวิจัยโดยการแทนค่าจำนวนนับ 1-10 สำหรับเด็กปฐมวัย
2.พัฒนาและสร้างประสิทธิภาพของเกมการศึกษา
3.ทดลองใช้เกมการศึกษา
4.ประเมินและปรับปรุงแก้ไขเกมการศึกษา
ประชากรที่ใช้นงานวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ห้องเรียน 110 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ผลการวิจัยคือ  1.นักเรียนทุกคนต้องการให้เกมการศึกษามีความหลากหลายและมีรูปแบบทีเหมาะสม
2.นักเรียนส่วนใหญ่ีตั้งใจเรียนและอยากเรียนเกมการศึกษานี้
3.นักเรียนส่วนใหญ่เรียนรู้เรื่องการแทนค่า 1-10มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น หลังจากการใช้เกมการศึกษา
4.เกมการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้1-10ทำให้เด็กมีความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์มากขึ้น






วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1 วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ 2558


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ 2558



เนื้อหาการเรียน(ความรู้ที่ได้รับ)

-อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดวิชาและการเรียนการสอน
-อาจารย์สอนการรบันทึกอนุทิน เพื่อบันทึกการเรียนการสอนหลังการเรียนทุกสัปดาห์
-อาจารย์บอกข้อตกลงในชั้นเรียน
-สรุปองค์ความรู้เดิมโดยใช้โปรแกรม Mind Map
-บอกแนวทางการปฏิบัติมีทั้งหมด 6 ด้าน

แนวทางการปฏิบัติที่คาดหวังมี  6  ด้าน

1. คุณธรรม จริยธรรม
2.ความรู้
3.ทักษะทางปัญญา
4.ทักษะความสำพันธ์ระหว่างบุลคลและความรับผิดชอบ
5.ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการจัดการเรียนรู้

วีธีการสอน

-การระดมความคิด
-การใช้โปรแกรม Mind Map เพื่อให้นักศึกษาสรุปตามความเข้าใจ
-การใช้สื่อออนไลน์
-ใช้คำถามปลายเปิด

ทักษะที่ได้

-การคิด
-การตอบคำถาม
-การสรุปองความรู้เป็น Mind Map

การประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้

-การใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กสามารถทำให้เด็กกล้าคิดกล้าตอบคำถามมากขึ้น
-จากที่ได้รู้แนวการสอนทำให้สามารถรู้ได้ว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง
-สามารถนำการสรุปความคิดแบบ Mind Map ไปใช้กับวิชาอื่นได้

บรรยายกาศในการเรียน:

     เพื่อนมาเรียนน้อยจึงทำให้บรรยายกาศเงียบเหงาแต่อาจารย์สอนสนุก

การประเมินผลอาจารย์ผู้สอน:
    -

ปล. เนื่องจากไม่ได้มาเรียนในวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ 2558 จึงไม่สามารถประเมินอาจารย์ผู้สอนได้และได้อ้างอิงเนื้อหาจากการเรียนการสอนในวันนี้จาก นางสาว นิศากร อ่อนประทุม คะ



สรุปบทความ

เด็กในแต่ละช่วงวัยควรมีความรู้อะไรบ้าง
เด็กอายุ 3 ขวบควรมีความรู้ดังนี้


1.มีความรู้จำนวนนับไม่เกินห้าเข้าใจการรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
2.มีความรู้เกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรและเวลาสามารถเปรียบ เทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรและเวลา
3.สามารถบอกตำแหน่งของสิ่งของต่างได้รู้จักทรงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉากในชีวิตประจำวันและใช้ในการสร้างงานศิลปะ

เด็กอายุ4ขวบควรมีความรู้ดังนี้


1.มีความรู้จำนวนนับไม่เกินสิบเข้าใจการรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
2.มีความรู้เกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรและเวลาสามารถเรียงลำดับและสามารถบอกเหตุการณ์และกิจกรรมวันว่าเกิดในช่วงเวลา เช้า เที่ยง เย็นได้
3.สามารถบอกตำแหน่งของสิ่งของต่างๆและจำแนกทรงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอกได้
4.มีความรู้เกี่ยวกับแบบรูปร่างขนานและสีที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งและสามารถทำตามแบบที่กำหนดได้

เด็กอายุ 5 ขวบควรมีความรู้ดังนี้

1.มีความรู้จำนวนนับไม่เกินยี่สิบเข้าใจการรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
2.มีความรู้เกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเวลาและเงินสามารถใช้เครื่องมือการวัดและบอกหน่วยของความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเวลาและเงินเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ และบอกเรื่องราวของเมื่อวาน วันนี้ได้
3.สามารถบอกตำแหน่งทิศทางระยะทางและแสดงตำแหน่งของสิ่งของต่างๆและจำแนกทรงกลม สี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกรวย ทรงกระบอกได้สามารถอธิบายการเปลี่ยแปลงของรูปเลขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับหรือคลี่ และสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเลขาคณิตสองมิติหรือสามมิติได้
4.ความรู้เกี่ยวกับแบบรูปร่างขนานและสีที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งและสามารถทำตามแบบที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติมได้
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในแบบแผนภูมิง่ายๆได้