วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินนครั้งที่ 7วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่7  เวลาเรยน  08.30-12.20
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
ระจำวันพุธ ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558




เนื้อหา


- กิจกรรมเขียนชื่อนบนกระดาน เรื่อง เวลาการมาเรียน (นาฬิกา) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
          ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ
  1. ทำให้ได้เรื่องของเวลา
  2. ทำให้ได้เรื่องของลำดับการมาก่อน- หลัง
  3. ภาษา










- รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


        1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ"
        2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบโครงการ"
        3. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบสมองเป็นฐาน"
        4. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบ STEM"
        5. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบมอนเตสเซอรี่"
        6. รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบเดินเรื่อง"

- นำเสนอโทรทัศน์ครู 
  


เลขที่  17  นเสนอโทรทัศน์ครูของคุณครูนิตยา   กาชัย  การลูกเต๋าเป็นสื่อการสอน  จำนวนคี่/จำนวนคู่ การบวกเลขเบบง่ายๆ

เลขที่  16-18  ไม่ได้นำเสนอเนื่องจากไม่มาเรียน
 
   



- รูปแบบการจัดประสบการณ์ " แบบบูรณาการ" ( Integrated Learning Management)
        หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้  ทักษะ และเจตคติ ไปสร้างงาน แก้ปัญหา และใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง




- ความสำคัญ


        1. ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน ทำให้ผู้ที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆมาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปํญหาได้

        2. การจัดประการณ์แบบบูรณาการทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าเ้วยกันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์ ( Transfer of learning)  ของศาสตร์ต้่างๆเข้าด้วยกัน


        3. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆในหลักสูตร ทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้น้อยลง


        4. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถหลายๆด้านของผู้เรียน ช่วยสร้างความรู้ ทักษะ เจตคติ " แบบพหุปัญหา" ( Multiple intelligence)


        5. การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน (เด็กสร้างความรู้ด้วยตนเอง)



- การนำไปใช้


        ควรคำนึงถึง.......
                เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  รู้อะไร
               เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไร





วิธีการสอน


- บอกให้ทราบถึงเนื้อหาที่จะเรียน
- มีการทบทวนความรู้เดิม โดยการแสดงความคิดเห็น
- เปิดโอกาสให้ ถาม-ตอบ
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน



ทักษะ- ทักษะการคิดวิเคราะห์


- ทักษะในการถามตอบ
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ที่ได้

การนำไปประยุกต์ใช้ 
 


    นำความรู้เรื่องการจัดประสบการ์แบบบูรณาการ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การทำกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ให้รอบด้าน

บรรยากาศในห้องเรียน

       มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น



ประเมินตนเอง

      มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น มีเนื้อหาบางเนื้อหาที่ไม่ค่อยเข้าใจ



ประเมินเพื่อน

        ตั้งใจเรียน ให้ความมือในการเรียน ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย



ประเมินอาจารย์
        
        สอนได้เข้าใจง่าย แต่เนื้อหาก็สอนเร็วเกินไป มีน้ำเสียงที่พอดี ร้องเพลงได้ไพเราะ ไม่ผิดไม่เพี้ยน ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือล้น หากิจกรรมที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษาทำและมีการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆให้เข้ากับกิจกรรม  ทำให้เข้าใจและเกิดความรู้ที่แปลกใหม่มากยิ่งขึ้น


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558



บันทึกอนุทิน

ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัยประจำวันพุธ ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

เนื้อหา

- ทดสอบก่อนเรียน        เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์มีอะไรบ้างและนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

เทคนิดการจัดประสบการณ์มีอะไรบ้าง

-  นิทาน
-  เพลง
-  เกม
-  คำคล้องจอง
-  ปริศนาคำท้าย
-  บทบาทสมมุติ
-  แผนภูมิภาพ
-  การประกอบอาหาร
-  กิจวัตประจำวัน

- กิจกรรมติดป้ายชื่อบนหน้ากระดาน


เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่นักศึกษาจำนวน 16 คน อยากไป คือ
1. ดรีมเวิลด์ = 5 คน
2. ทะเล = 5 คน
3. เกาหลี = 6 คน

สรุป  นักศึกษากลุ่ม 101 อยากไปเที่ยวที่เกาหลีมากที่สุด มากกว่าดรีมเวิลดฺและทะเล ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน

 
       จากกิจกรรมดังกล่าวจะจะได้เกี่ยวกับเรื่องการนับ ( การเพิ่มขึ้นทีละ 1) และค่าจำนวน เป็นการสอนแบบภาษาธรรมชาติ


- นำเสนอบทความ


      - เลขที่ 13 การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการสร้างหนังสือภาพ ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ได้รับประสบการณ์ตรง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
      - เลขที่ 14 การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการการละเล่นพื้นบ้าน
        การเล่นคำทาย,การเป่ากบ,กาฟักไข่,รีรีข้าวสาร  ฝึกให้เด็กรู้จักการนับ การคิด รู้จักการรอคอย  คิดอย่างเป็นระบบ

- แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม     แบ่งกลุ่มตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม จำนวน 3 สี คือ สีส้ม สีเหลือง สีเขียว  สีละ 10 อัน  รวมเป็น 30 อัน โดยให้นักศึกษาต่อเป็นรูปภาพโดยเริ่มจากสี่เหลี่ยม 1 รูป ไปจนถึงสี่เหลี่ยม 5 รูป







เพลง นับนิ้วมือ
        นี้คือนิ้วมือของฉัน     มือของฉันนั้นมี 10 นิ้ว

มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว     มือขวาก็มี 5 นิ้ว
 นับ 1 2  4  5                    นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ           นับ 1-10 จำให้ขึ้นใจ



คำคล้องจอง 1 2 3
1 2 3 เป็นยามปลอด       4 5 6 ลอดรั้วออกไป
7 8 9 เเดดเเจ่มใส่         10 11 ไวไววิ่งไล่กัน
12 13 รีบย่องกลับ        14 15 หลับเเล้วฝัน
16 17 ตกเตียงพลัน          18 19 20 ฉันนั้นหัวโน



วิธีการสอน- มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียน

- มีแบบฝึกหัดก่อนเรียนเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
- อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดมความคิดในการช่วยกันตอบคำถามภายในห้อง
- ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสอน
- นำกิจกรรมมาให้นักศึกษาเพื่อให้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น

ท้กษะ

- ทักษะในการคิดวิเคราะห์
- ทักษะในการถาม- ตอบ
- ทักษะในการสรุปองค์ความรู้ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น
- ทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้  
  
        นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็ก โดยใช้เทคนิควิธีต่างๆที่ได้เรียน

บรรยากาศในห้องเรียน

       โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนมีพร้อม แต่อากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น

ประเมินตนเอง

        ตั้งใจเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ให้ความร่วมมือในการเรียน